Close Mobile Navigation




เข้าใจโรคมะเร็งเต้านม

ข้อมูลในหน้านี้อาจช่วยให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับร่างกายของท่านได้ดียิ่งขึ้นและอาจช่วยในการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญร่วมกับแพทย์ของท่าน





โรคมะเร็ง
เต้านมคืออะไร



โรคมะเร็งเต้านมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ปกติเปลี่ยนแปลงและเริ่มเจริญเติบโตในลักษณะที่ไม่สามารถควบคุมได้ และกลายเป็นเนื้องอกในที่สุด เนื้องอกสามารถมีจุดกำเนิดในบริเวณต่างๆ ของเต้านม เช่น ต่อมที่ผลิตนํ้านม ท่อที่ลำเลียงนํ้านมไปยังหัวนม หรือบริเวณเนื้อเยื่ออื่นๆ โดยการที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม รวมถึงการกลายพันธุ์ของยีนแต่กำเนิด สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้





ระยะต่างๆ ของโรคมะเร็งเต้านม

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute, NCI)

ระบบทีเอ็นเอ็ม (TNM system), ระบบการแบ่งเกรด (grade system) และชนิดย่อยของโรคมะเร็งเต้านมถูกใช้ร่วมกันเพื่อหาระยะ (stage) ของโรคมะเร็งเต้านมที่ท่านเป็นอยู่


ระบบการแบ่งระยะสำหรับโรคมะเร็งเต้านมแบบ TNM

โรคมะเร็งเต้านมถูกแบ่งระยะด้วยระบบ “TNM” ระบบ TNM จะพิจารณาเนื้องอก (T) ต่อมนํ้าเหลือง (N) และ การแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (M) TNM ย่อมาจาก

  • เนื้องอก (tumor, T): ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก
  • ต่อมนํ้าเหลือง (lymph node, N): ขนาดตำแหน่ง และจำนวนของต่อมนํ้าเหลืองที่มะเร็งได้แพร่กระจายไป
  • การแพร่กระจาย (metastasis, M): การแพร่กระจายของมะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

ระบบการแบ่งเกรดสำหรับโรคมะเร็งเต้านม

ระบบการแบ่งเกรดจะอธิบายเนื้องอกตามลักษณะความผิดปกติของเซลล์มะเร็งและเนื้อเยื่อที่มองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ประกอบกับแนวโน้มที่เซลล์มะเร็งจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วแค่ไหน โดยมี 3 เกรดที่เป็นไปได้ดังนี้

  • เกรด1
  • เกรด2
  • เกรด3

ชนิดย่อยของโรคมะเร็งเต้านม

การตรวจตัวรับบนเนื้อเยื่อที่ตัดส่งตรวจถูกนำมาใช้เพื่อตรวจหาว่าเซลล์มะเร็งเต้านม มีตัวรับบางชนิดหรือไม่ ผลการตรวจเหล่านี้จะให้ข้อมูลสำหรับการเลือกวิธีการรักษาสำหรับโรคมะเร็งเต้านม จะประกอบด้วยตัวรับชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen receptor, ER): หากเซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน เซลล์มะเร็งจะเรียกว่า มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวก(ER+) หากเซลล์มะเร็งเต้านมไม่มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน เซลล์มะเร็งนั้นจะเรียกว่า มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นลบ(ER-)
  • ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone receptor, PR): หากเซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เซลล์มะเร็งนั้นจะเรียกว่า มีตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นบวก (PR+) หากเซลล์มะเร็งเต้านมไม่มีตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เซลล์มะเร็งนั้นจะเรียกว่า มีตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นลบ (PR-)
  • ตัวรับเฮอร์ทู (human epidermal growth factor type 2 receptor, HER2/neu หรือ HER2): หากเซลล์มะเร็งเต้านมมีจำนวนของตัวรับเฮอร์ทู มากกว่าปกติบนพื้นผิวเซลล์ เซลล์มะเร็งนั้นจะเรียกว่า มีตัวรับเฮอร์ทูเป็นบวก(HER2+) หากเซลล์ มะเร็งเต้านมมีจำนวนของตัวรับเฮอร์ทู บนพื้นผิวเซลล์เป็นปกติ เซลล์มะเร็งนั้น จะเรียกว่า มีตัวรับเฮอร์ทูเป็นลบ(HER2-) มะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับเฮอร์ทูเป็นบวก(HER2+) อาจเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่า และอาจมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายมากกว่า
  • มีตัวรับทั้งสามชนิด (triple positive): หากเซลล์มะเร็งเต้านมมีทั้งตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และมีตัวรับเฮอร์ทู จำนวนมากกว่าปกติ เซลล์มะเร็งนั้นจะเรียกว่า มีตัวรับทั้งสามชนิด
  • ไม่มีตัวรับทั้งสามชนิด (triple negative): หากเซลล์มะเร็งเต้านมไม่มีทั้งตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ตัวรับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน และไม่มีตัวรับตัวรับเฮอร์ทู ในจำนวนมากกว่าปกติ เซลล์มะเร็งนั้นจะเรียกว่า ไม่มีตัวรับทั้งสามชนิด




วิดีโอขั้นตอนและวิธีการรักษามะเร็งเต้านม

EP 1
ทำความรู้จักมะเร็งเต้านมเบื้องต้น

มะเร็งเต้านมชนิดต่างๆ การวินิจฉัย
และการรักษา

EP 2
การผ่าตัดมะเร็งเต้านม

วิธีการการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบต่างๆ



โปรดสอบถามแพทย์ของท่าน
เกี่ยวกับระยะของโรคมะเร็งเต้านมของท่าน

เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ช่วยกำหนดระยะของโรคมะเร็งเต้านม จึงมีการใช้ปัจจัยต่างๆ หลายอย่างรวมกันเพื่อกำหนดระยะของโรคมะเร็ง ในความจริงแล้ว คนสองคนอาจอยู่ในระยะเดียวกัน แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกันที่นำมาสู่ระยะนั้น แพทย์ของท่านสามารถพูดคุยกับท่านเกี่ยวกับวิธีการกำหนดระยะของโรคมะเร็งเต้านมของท่านและวิธีการนำไปใช้ในการ วางแผนการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับท่าน





บทความอื่นๆ


การเตรียมตัวสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง


เรื่องเล่าจากผู้ป่วยมะเร็ง


แหล่งข้อมูลอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง




TH-OBR-00011 10/2023


ความร่วมมือ